วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดอกไม้ในวรรณคดี


ดอกไม้ในวรรณคดี
มวลดอกไม้นานาพรรณ อันอยู่ประดับโลก บ้างก็มีสีสันฉูดฉาด บาดตา บ้างก็มีกลิ่นหอมหวนชวนดม แต่ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้เช่นใด ไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกหรือไม้ใบ ต่างก็มีเสน่ห์ของตัวเองแตกต่างกันไป สร้างความชุ่มชื่นให้แก่อารมณ์ของผู้พบเห็นอย่างที่เรียกว่า “ อาหารตา – อาหารใจ ” ช่วยคลายความเครียดได้ทางหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นเรื่องแปลกที่จิตกวี หรือนักประพันธ์ทุกยุคทุกสมัยต้องนำเอาพันธ์ไม้ไปเป็ฯส่วนหนึ่งประกอบไว้ในวรรณกรรมของตนด้วย จิตกวีของไทยก็เช่นกัน ต่างก็สนใจนำเอาพันธ์ไม้มาเรียบเรียงคำให้เป็นร้อยกรองที่มีความไพเราะเพราะพริ้ง สอดแทรกเข้าไปในบทประพันธ์ ในบทชมสวนบ้าง เดินทางกลางป่าไพรบ้าง บทเกี้ยวพาราสีบ้าง การอ่านวรรณคดีจึงได้ทั้งรสหนังสือ ความรู้เรื่องพันธุ์ไม้ที่บ้างครั้งเรายังไม่รู้จัก ไม่เคยพบเห็นด้วยซ้ำไป อีกทั้งยังใช้สำหรับค้นคว้าทางด้านวิชาการ “ เอนองค์ลงเหนือบรรจถรณ์ อันขจรด้วยกลิ่นบุปผา
เราจะพบญาณทัศนะของกวีต่อต้นไม้ ที่นำมาใช้ในบทประพันธ์ต่างๆ กัน เช่น
- จะเห็นได้ว่าคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณอยู่กับต้นไม้ด้วยความรัก มีความสุข
ตามอัตภาพ สภาพดั้งเดิมของคนไทยปลูกบ้านยกพื้นปล่อยใต้ถุนโล่ง เนื่องจากป้องกันน้ำท่วม บางแห้งพื้นที่ลุ่มไม่เหมาะต่อการปลูกพรรณไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนแรงของน้ำเมื่อถึงเวลาน้ำท่วมได้ ก็ใช้ชานเรือนทำสวนกระถาง เช่น วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ได้พรรณนาต้นไม้ไว้หลายชนิดภายในบริเวณบ้านของขุนช้าง
- ใช้ชื่อไม้แสดงความคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก เป็นแบบแผนคลาสสิค
เช่น กาพย์ห่อโครง “ นิราศธารโศก ” ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ( เจ้าฟ้ากุ้ง ) ลิลิตตะเลงพ่าย ของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น
- ใช้ไม้ชนิดนั้นๆ แสดงปรัชญา สุภาษิต และคำพังเพย เช่น
- แสดงประวัติพันธ์ไม้ เช่น “ มณฑามาแต่แขก ”
จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าดอกไม้ในวรรณคดีส่วนใหญ่มักเป็นไม้ดอกที่มีสีสัน
สวยงาม และมีชื่อเป็นมงคล จะพบมากในวรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ ) และวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน พระราชนิพนธืในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ( รัชกาลที่ ๑ ) ส่วนใหญ่มักจะแต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทนิราศ อันได้แก่ บทประพันธ์ นิราศธารโศก ของ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ( เจ้าฟ้ากุ้ง ) นิราศพระบาท ของ พระสุนทรโวหาร ( สุนทรภู่ ) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีบทประพันธ์ประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ ลิลิต อีกด้วย เช่น บทละครนอกเรื่องคาวี พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ ) บทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ - พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๕ ) มัทนะพาธา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๖ ) โคลงนิราศนรินทร์ ของ นายนรินทร์ ธิเบศร์ ( อิน ) บทละครเรื่องพระอภัยมณี ของ พระสุนทรโวหาร ( สุนทรภู่ ) ลิลิตพระลอ โคลงโลกนิติ ขุนช้างขุนแผน กาพย์พระไชยสุริยา บุณโณวาทคำฉันท์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น


จำปา


รื่นเร้าเสาวรสสุคนธา มาลัยโอฬาร์ผกากาญจน์
แก้วกุหลาบจำปาสารภิน จรุงรวยชวยกลิ่นหอมหวาน
กลั้วกลิ่นวนิดายุพาพาล ระเหยหานเสียวซ่านสำราญใจ ”
วรรณคดี : บทละคร เรื่อง “ อุณรุท ” ตอนอภิเษกทศมุขครองกรุงรัตนา
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Michelia champaca
ชื่อสามัญ : Champaka
ชื่อวงศ์ : Magnoliaceae
จำปาเป็นพุ่มไม้ขนาดกลาง ดอกสีเหลืองอมส้ม เรียกว่าสีจำปา ดอกจำปาใหญ่กว่าจำปี แต่ต้นจำปาไม่ทนน้ำเท่าจำปี ไม่ควรปลูกในที่ลุ่มมีน้ำขัง ไทยมีจำปาอีกชนิดหนึ่ง เรียก จำปาขาว เชื่อว่าพ่อขุนบางกลางหาวปลูกไว้ที่วัดในอำเภอนครไทย พิษณุโลก ปัจจุบัน ( ๒๕๓๙) ยังยืนต้นอยู่ มีขนาดโอบไม่รอบ แต่เป็นโพรงเพราะอายุมาก
การขยายพันธุ์ ใช้กิ่งตอนหรือไหล
คุณค่าทางสมุนไพร คือดอกใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ ระงับอาการเกร็ง รากเป็นยาถ่าย และขับระดูสตรี เปลือกแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ใบใช้คั้นน้ำแก้โรคลำไส้อักเสบ



กุหลาบมอญ
“… เที่ยวชมแถวขั้นรุกขชาติ
ดอกเกลื่อนดกกลาดหนักหนา
กาหลงกุหลาบกระดังงา  
การะเกดกรรณิการ์ลำดวน …”
วรรณคดี : “ รามเกียรติ์ ”
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Rosa damascema, Mill.
ชื่อสามัญ : Damask Rose , Persia Rose, Mon Rose
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
กุหลาบมอญเป็นไม้ดอกประเภทไม้พุ่มผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านมีหนาม พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๓ เมตร อายุยืน แข็งแรง เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ ๖ ชั่วโมง จึงควรปลูกในที่โล่งแจ้งแต่ควรเป็นที่อับลม ขึ้นได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์พอ ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง ดินจึงต้องระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศร้อนในตอนกลางวัน และอากาศเย็นในตอนกลางคืน กุหลาบมอญนี้ถือได้ว่าเป็นกุหลาบพื้นเมืองของไทย ใบเป็นใบประกอบชนิดขนนก มีหูใบ ๑ คู่ มีใบย่อย ๓ - ๕ ใบ ในก้านช่อใบหนึ่ง ๆ ใบจัดเรียงแบบสลับ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน มีรอยย่นเล็กน้อย ขอบใบเป็นจักละเอียด เส้นกลางใบด้านท้องใบมีหนามห่าง ๆ ดอกมีลักษณะค่อนข้างกลม กลับดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น วนออกนอกเป็นรัศมีโดยรอบ ดอกมีสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม ดอกมักออกเป็นช่อ ทางปลายกิ่ง กลีบดอกมีลักษณะปลายแหลมเรียว
การขยายพันธ์ใช้วิธีตอนกิ่ง



พิกุล
“… เสือมองย่องแอบต้นตาเสือ
ร่มหูกวางกวางเฝือฝูงกวางป่า
อ้อยช้างช้างน้าวเป็นราวมา  
สาลิกาจับกิ่งพิกุลกิน …”
วรรณคดี : “ ขุนช้างขุนแผน ”
ผู้ประพันธ์ : สุนทรภู่
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mimusope elengi, L.
ชื่อสามัญ : Bullet Wood
ชื่อวงศ์ : Sapotaceae
พิกุลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านค่อนข้างแจ้ แบน คล้ายต้นหว้า มีพุ่มใบแน่น เหมาะสำหรับปลูกไว้บังแดดตอนบ่าย ดอกมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ปลายแหลมมน มีขนาดใบกว้างประมาณ ๗ ซ.ม. ยาวประมาณ ๑๕ ซ.ม. เส้นกลางใบด้านท้องใบนูน ก้านใบยาวประมาณ ๓ ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อ เป็นกระจุก ดอกมีขนาดเล็กกว้างประมาณ ๑ ซ.ม. กลีบดอกเล็กแคบยาวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มองดูริมดอกเป็นจักเล็ก ผลกลมโตคล้ายละมุดสีดา แต่เล็กกว่าเล็กน้อย ผลสุกสีแดงแสด ใช้รับประทานได้ รสฝาดหวานมัน
การขยายพันธ์ ใช้เพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง
ทางด้านสมุนไพร เปลือกใช้ต้มเอาน้ำอมเป็นยากลั้วล้างปาก แก้ปากเปื่อย ปวดฟัน ฟันโยกคลอน เหงือกบวม เป็นยาคุมธาตุ ดอกแห้งใช้ป่นทำยานัตถุ์ แก้ไข้ ปวดศรีษะ เจ็บคอ แก้ปวดตามร่างกาย แก้ร้อนใน เมล็ดตำละเอียดปั้นเป็นยาเม็ดสวนทวาร


ดาวเรือง

“… ธาตุบุษป์พุทธธารซาบ
กุหลาบกนาบทั้งสองทาง
เบงระมาดยี่สุ่นกาง     
กลีบบานเพราเหล่าดาวเรือง ฯ …”
วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “ นิราศธารทองแดง ”
ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ “ เจ้าฟ้ากุ้ง ”
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Tagetes spp.
ชื่อสามัญ : Marigolds
ชื่อวงศ์ : Compositae
ชื่ออื่น ๆ : คำปู้จู้
ดาวเรืองเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นทรงพุ่มสูงประมาณ ๔ ฟุต ปลูกง่ายขึ้นในดินเกือบทุกชนิด ทนทานต่อความแห้งแล้ง ใบเป็นฝอย มีกลิ่นหอมฉุน ดาวเรืองที่พบเห็นและปลูกกันมากในปัจจุบันมี ๕ ชนิด คือ
๑. Tagetes erecta เป็นดาวเรืองชนิดต้นสูง ดอกใหญ่ ซ้อน ทรงดอกกลมโต พันธุ์ที่นิยมกันคือ เทตรา เบอร์พี พริมโรส เลมอนบอล
๒. Tagetes patula ลำต้นเตี้ย มีทั้งดอกซ้อนและไม่ซ้อน พันธุ์ที่นิยม คือ นอติมาเรียตตา บัฟเฟิลด์เรด
๓. Triploid marigolds เป็นลูกผสมระหว่าง ๒ ชนิดแรก ได้แก่พันธุ์นักเกท
๔. Tagetes tenuifolia pumila เป็นดาวเรืองชนิดพุ่มเตี้ย สูงประมาณ ๗ - ๑๐ นิ้ว ดอกกลีบชั้นเดียว มีขนาดเล็ก นิยมปลูกตามขอบแปลง หรือสวนหิน
๕. Tagets\es filifolia pumila เป็นดาวเรืองที่มีใบสวยงาม พุ่มต้นแน่นเหมาะสำหรับปลูกตามขอบแปลง
การขยายพันธุ์ ใช้วิธีเพาะเมล็ดแล้วย้ายปลูก
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใช้ดอกผสมกับข่าและสะค้าน รับประทานแก้ฝีลมที่มีอาการปวดในท้อง ต้นใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุดเสียดและปวดท้อง















วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แมว


แมว
     

การเลี้ยงปลา

ชนิดของปลา  มี 2 ชนิด
      1.  ปลาไม่มีกล็ด