วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ปลาน้ำจืด


ปลาช่อนงูเห่า
ชื่อไทย ช่อนงูเห่า

ชื่อสามัญ GREAT SNAKE - HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa marulius
ถิ่นอาศัย ในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองซึ่งมีพื้นเป็นกรวดและหิน ในแถบภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า อ้ายล่อน ทางภาคเหนือพบที่จังหวัดตาก และในลุ่มน้ำปิง คนในแถบนั้นเรียกว่า ปลาช่อนดอกจันทร์
ลักษณะทั่วไป ลำตัวเรียวยาวรูปทรงกระบอกคล้ายปลาช่อน แต่มีหัวเล็กและแบนกว่า บริเวณหลังมีสีเขียวปนน้ำตาลเกล็ดมีสีดำขอบขาวสลับบนและล่างของเส้นข้างลำตัว บริเวณโคนครีบหางมีจุดเป็นสีดำขอบขาวขนาดใหญ่ คำร่ำลือที่ว่าปลาช่อนงูเห่า เป็นปลาซึ่งมีพิษร้ายแรง หากกัดผู้ใดก็จะได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด หากนำมาขังร่วมกับปลาช่อน จะถูกปลาช่อนไล่กัดจนตาย
การสืบพันธุ์ -
อาหารธรรมชาติ กินปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำ
การแพร่กระจาย -
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



ปลา  ม้า  กวาง
ชื่อไทย ม้า กวาง

ชื่อสามัญ SOLDIER CROAKER
ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesmania microlepis
ถิ่นอาศัย แหล่งน้ำจืดพบมากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนนทบุรีจนถึงชัยนาท ภาคอีสานจับได้น้อย จากแม่น้ำโขงเรียกว่า “ ปลากวาง ”
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำเค็มที่เข้ามาอยู่ในน้ำจืดเป็นครั้งคราว มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านข้างแบนหางซึ่งเป็นบริเวณตั้งแต่รูก้นไปถึงปลายหางยาวเรียว หัวค่อนข้างเล็ก หน้างอนขึ้นเล็กน้อย จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและอยู่คล้อยไปทางใต้ส่วนหัว นัยน์ตาค่อนข้างเล็ก มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและ ลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนปลายครีบจรดโคนหาง ครีบหูเล็กปลายแหลม ครีบท้องอยู่ใกล้อกมีก้านแข็งยืดยาวออกมาเป็นปลายแหลม ครีบหางยาวปลายแหลม พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเขียวอ่อนหลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาวเงินครีบต่างๆ สีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน ปลาม้ามี คุณสมบัติพิเศษที่สามารถทำเสียงได้ เนื่องจากมีกระเพาะลมขนาดใหญ่แข็งแรงและมีกล้ามเนื้อยึดติดกับลำตัว การทำงานของกล้ามเนื้อนี้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดเสียง
การสืบพันธุ์ การผสมพันธุ์วางไข่มักเกิดในช่วง 18.00 - 20.00 น . โดยพ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะวางไข่จะจับคู่ว่ายคลอเคลียบริเวณก้นบ่อประมาณ 30 นาที ก่อนที่ตัวเมียจะปล่อยไข่ผสมกับ น้ำเชื้อตัวผู้ ระยะเวลาในการวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 30 นาที ไข่เป็นแบบไข่ลอย ลักษณะกลม สีเหลืองใสเป็นประกาย มีหยดน้ำมันขนาดใหญ่ 1 หยด
อาหารธรรมชาติ กินพวกกุ้ง
การแพร่กระจาย -
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ปลากระดี่นาง

ชื่อไทย กระดี่นาง

ชื่อสามัญ MOONLIGHT GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichogaster microlepis
ถิ่นอาศัย มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ หนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น
ลักษณะทั่วไป รูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนท้ายเรียว ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้น เกล็ดบาง เล็กละเอียด ขอบเกล็ดเป็นจักรเช่นเดียวกับเกล็ดปลาหมอ ตัวมีสีเทาหรือเงินวาวอมฟ้า ครีบสีจางใส มีขอบสีเหลืองอ่อนเรื่อ ๆ เพศผู้จะมีสีแสดส้มตรงบริเวณท้อง มีนิสัยสงบเสงี่ยม เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้ดี แต่ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีนิสัยกีดกันระรานปลาอื่น ความยาวประมาณ 7 - 10 ซม .
การสืบพันธุ์ -
อาหารธรรมชาติ กินแมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
การแพร่กระจาย -
สถานภาพ (ความสำคัญ) กินแมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น